วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 5 ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลและฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์

                           สรุปบทที่ 5
   :ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลและฟังก์ชั่น     ทางคณิตศาสตร์:

  

   คำสั่งในภาษาซี ล้วนอยู่ในรูปแบบ
 ของฟังก์ชั่นทั้งสิ้น ซึ่งอาจเป็น
 ฟังก์ชั่นมาตรฐาน ที่ภาษาซีได้
 จัดเตรียมไว้ให้แล้ว นอกจากนี้ ก็ยังมีฟังก์ชั่น  ที่เราสามารถเขียนขึ้น เพื่อใช้งานเอง
ตัวอย่างฟังก์ชั่นที่ภาษาซี จัดเตรียมมาให้ เช่น ฟังก์ชั่น printf() ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ข้อมูลเพื่อ แสดงผ่านทางจอภาพ หรือกรณี ต้องการรับค่าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ ก็ต้องใช้ฟังก์ชั่น scant() เป็นต้น ที้งนี้การเรียกใช้ฟังก์ชั่นดังกล่าว จำเป็นต้องรู้ถึงรูปแบบการเขียน (Syntax) รวมถึงต้องรู้ด้วยว่าฟังก์ชั่นที่ใช้งาน เหล่านี้ ประกาศใช้อยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ใด นอกจากฟังก์ชั่นทั้งสองแล้ว ภาษาซีก็ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่สามารถรำมาใช้เพื่อการแสดงผลข้อมูลและการรับผลข้อมูล

     

  >>ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลข้อมูล<<

ในภาษาซี ได้เตรียมฟังก์ชั่น
เพื่อการรับและแสดงผลข้อมูลอยู่ หลายคำสั่งด้วยกัน ซึ่งสามารถนำ
มาเรียกใช้งานตามความเหมาะสม

   

  1. ฟังก์ชั่น printf
   
   เป็นฟั่งชั่นที่ใช้สำหรับแสดงผล
ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าตัวแปร โดยที่

formatControlString  คือรูปแบบที่ นำมาใช้สำหรับควบคุมการพิมพ์ รวมถึงข้อความที่ต้องการสั่งพิมพ์ ซึ่งจะต้องอยู่ภายในเครื่องหมาย " "

Printf  คือตัวแปรที่นำมาพิมพ์ ซึ่งจะจับคู่กับ formatControlString ที่สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

ใส่รุป

นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถผนวกรหัสควบคุม (Escape Sequence) เข้าไปใน FormatControlString ได้อีก ซึ่งรหัสควบคุมเหล่านี้ จะเขียนด้วยเครื่องหมาย \ และตามด้วยรหัสควบคุม ทั้งนี้ต้องระมัดระวัง
ในเรื่องของการจับคู่ระหว่างรหัสรูปแบบขัอมูล ที่ต้องตรงกับชนิดตัวแปรสั่งพิมพ์

   

   2. ฟังก์ชั่น Scanf()
   
    เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์ เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปร
   นอกจากนี้ ในการรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์ด้วยฟังก์ชั่น scanf() จะต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

   1. ถ้าข้อมูลที่รับ เป็นชนิดตัวเลข ซึ่งนำไปใช้ในการคำนวณได้ จะตัองใส่เครื่องหมาย & นำหนัาตัวแปรเสมอ

    2. ถ้าขัอมูลที่รับ เป็นข้อความ อาจไม่ต้องใส่เครื่องหมาย & นำหน้าตัวแปรก็ได้

   

  3. ฟังก์ชั่น getchar()
    
     เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาสำหรับรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ 1 ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไปจะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะ Enter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุดการป้อน
ข้อมูลด้วย กรณีที่มีการกรอกตัวอักษรมากกว่า 1 ตัว จะมีเพียงอักษรตัวแรกเท่านั้น ที่จะถูกจัดเก็บไว้ในตัวแปร

   

   4. ฟังก์ชั่น putchar()

    
     เป็นฟังก์ชั่นที่ถูกนำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระ
ที่ถูกป้อนด้วย getchar() หรือนำมาพิมพ์หัสพิเศษได้

    

  
   5. ฟังก์ชั่น getch()  และ  getche()

     นอกจากนี้แล้ว ภาษาซียังมีฟังก์ชั่นที่นำมาใช้เพื่อการรับค่า ตัวอักขระอย่าง getch() และ getche() แต่ฟังก์ชั่นทั้งสองถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ <conio.h> ดังนั้น เมื่อต้องการใช้งานฟังก์ชั่นดังกล่าว จำเป็นต้องผนวกเฮดเดอร์ไฟล์ <conio.h> ไว้ตรงส่วนหัวข้อโปแกรมด้วย

   

   

   >>ฟังก์ชั่นจัดการจอภาพ<<

   สำหรับฟังก์ชั่นการจัดการจอภาพ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง
ฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับการล้างหน้าจอ และฟังก์ชั่นที่ใช้กำหนด
ตำแหน่งบนจอภาพ

   

   1. ฟังก์ชั่น clscr()

    เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับล้างจอภาพ โดยจะล้างข้อความเดิม บนจอภาพออกทั้งหมด

     

   2. ฟังก์ชั่น gotoxy()

     เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่ง      เคอร์เซอร์บนจอภาพ บนหน้าจอแบบเท็กซ์  โหมด 

   

  >>ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์<<

   ในบทที่ผ่านมา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวดำเนินการทาง คณิตศาสตร์มาบ้างแล้ว ดังนั้น หากต้องการคำนวณหาเลข ยกกำลัง การหาค่ารากที่สอง, ค่าตรีโกณมิติยาง sine, cos, tan จะต้องทำอย่างไร
   ในภาษาซี ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าว จะถูกประกาศใช้งานอยู่ใน เฮดเดอร์ไฟล์ ชื่อ <math.h> โดยเฉพาะเครื่องหมายยกกำลัง ซึ่งในภาษาระดับสูงทั่วไป มักจะใช้เครื่องหมาย ^ หรือ ** แต่ภาษาซีจะใช้ฟังก์ชั่น pow() แทน

     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น